
กิจกรรมโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก ประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประจำปี 2563
ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน”
กิจกรรมที่ 1 ต่ออย่างไรให้ไฟ LED สว่าง
ในกิจกรรมนี้ น้องๆ จะต้องต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อให้หลอดไฟ LED สว่างให้ได้
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่
-
1. ถ่านไฟฉาย
-
2. ตัวต้านทาน
-
3. หลอดไฟ LED
-
4. สายไฟ
-
5. บอร์ดทดลองอเนกประสงค์
วิธีการทดลอง
-
ให้น้องต่อวงจรให้ครบวงจร โดยให้กระแสไฟฟ้าจากขั้วไฟฟ้าบวกของถ่านไฟฉาย (เส้นสีแดง) ไหลผ่านตัวต้านทาน หลอดไฟ LED และกลับเข้าสู่ขั้วลบของถ่านไฟฉาย (เส้นสีดำ)
-
ถ้าน้องต่อวงจรได้ถูกต้อง หลอดไฟก็จะสว่าง
ข้อเสนอแนะในกิจกกรรมที่ 1
หลอดไฟ LED จะแยกขั้วไฟฟ้าเป็นบวกและลบ โดยที่ขั้วไฟฟ้าบวกจะขายาวกว่า

กิจกรรมที่ 2 กดติด กดดับ (สวิตซ์ไฟฟ้า)
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่
-
1. ถ่านไฟฉาย
-
2. ตัวต้านทาน
-
3. หลอดไฟ LED
-
4. สายไฟ
-
5. บอร์ดทดลองอเนกประสงค์
-
6. สวิตซ์ไฟฟ้า
วิธีการทดลอง
-
ให้น้องต่อวงจรให้ครบวงจร โดยให้กระแสไฟฟ้าจากขั้วไฟฟ้าบวกของถ่านไฟฉาย (เส้นสีแดง) ไหลผ่านตัวต้านทาน หลอดไฟ LED และกลับเข้าสู่ขั้วลบของถ่านไฟฉาย (เส้นสีดำ)
-
ถ้าน้องต่อวงจรได้ถูกต้อง หลอดไฟก็จะสว่าง
-
แก้ไขวงจรไฟฟ้าในกิจกรรมที่ 1 โดยเพิ่มสวิตซ์ไฟฟ้า โดยที่น้องๆ สามารถกดเปิด-ปิด หลอดไฟ LED ได้ด้วยตนเอง
ข้อเสนอแนะในกิจกกรรมที่ 2
การต่อสวิตซ์ไฟฟ้าในวงจร คือการทำให้วงจรขาด แล้วเชื่อมต่อววงจรอีกครั้งด้วยสวิตซ์ไฟ

กิจกรรมที่ 3 สวิตซ์ไฟฟ้าทรานซิสเตอร์
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่
-
1. ถ่านไฟฉาย
-
2. ตัวต้านทาน 2 ตัว
-
3. หลอดไฟ LED
-
4. สายไฟ
-
5. บอร์ดทดลองอเนกประสงค์
-
6. ทรานซิสเตอร์
วิธีการทดลอง
-
ให้น้องต่อวงจรให้ครบวงจร โดยให้กระแสไฟฟ้าจากขั้วไฟฟ้าบวกของถ่านไฟฉาย (เส้นสีแดง) ไหลผ่านตัวต้านทาน หลอดไฟ LED และกลับเข้าสู่ขั้วลบของถ่านไฟฉาย (เส้นสีดำ)
-
ถ้าน้องต่อวงจรได้ถูกต้อง หลอดไฟก็จะสว่าง
-
แก้ไขวงจรไฟฟ้าในกิจกรรมที่ 2 โดยถอดสวิตซ์ไฟฟ้า ออกแล้วแทนที่ด้วยทรานซิสเตอร์
ข้อเสนอแนะในกิจกกรรมที่ 3
เนื่องจากทรานซิสเตอร์มีสามขา การต่อให้นำสายไฟขั้วบวกต่อเข้าขาหมายเลข 3 และออกขา 1 เมื่อนำไปแทนที่สวิตซ์จะเหลือขา 1 ขา (ขากลางหมาายเลข 2) ให้ต่อวงจรเพิ่มโดยการต่อสายไฟจากขั้วไฟฟ้าบวกจากถ่านไฟฉาย ผ่านตัวต้านทาน และต่อสายให้เข้าขาที่เหลือของทรานซิสเตอร์


กิจกรรมที่ 4 แสง สี และ เสียง
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่
-
1. ถ่านไฟฉาย
-
2. ตัวต้านทาน
-
3. หลอดไฟ LED
-
4. สายไฟ
-
5. บอร์ดทดลองอเนกประสงค์
-
6. ทรานซิสเตอร์
-
7. ลำโพง โมโครโฟนขนาดเล็ก
วิธีการทดลอง
-
ให้น้องแก้ไขวงจรไฟฟ้า จากกิจกรรมที่ 1-3 โดยเป้าหมายที่ต้องการคือ เมื่อมีเสียงจะทำให้หลอดไฟ LED สว่าง ตามความดังของเสียง
ข้อเสนอแนะในกิจกกรรมที่ 4
เพื่อช่วยในการทำกิจกรรมที่ 4 น้องๆ สามารถประยุกต์การต่อวงจร จากวิดีโอที่แสดง
กิจกรรมที่ 5 แสง สี และ เสียง
อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่
-
1. ถ่านไฟฉาย
-
2. ตัวต้านทาน
-
3. หลอดไฟ LED
-
4. สายไฟ
-
5. บอร์ดทดลองอเนกประสงค์
-
6. ทรานซิสเตอร์
-
7. ลำโพง โมโครโฟนขนาดเล็ก
วิธีการทดลอง
-
ให้น้องแก้ไขวงจรไฟฟ้า จากกิจกรรมที่ 1-3 โดยเป้าหมายที่ต้องการคือ เมื่อมีเสียงจะทำให้หลอดไฟ LED สว่าง ตามความดังของเสียง
ข้อเสนอแนะในกิจกกรรมที่ 4
เพื่อช่วยในการทำกิจกรรมที่ 4 น้องๆ สามารถประยุกต์การต่อวงจร จากวิดีโอที่แสดง